Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน่วยจักษุวิทยาตกแต่งและเสริมสร้าง

       เป็นหน่วยงานหนึ่งของภาควิชาจักษุวิทยา  ที่มุ่งเน้นให้การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับเปลือกตา ทางเดินน้ำตา เบ้าตา นอกจากนี้ เรายังเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการใส่ตาปลอม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความไม่เหมาะสมของตาปลอมที่ใส่อีกด้วย  

 “นอกจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว เรายังมุ่งที่จะผลิตและพัฒนาบุคลากรในสาขานี้ให้เพิ่มมากขึ้นด้วย”

       เรื่องจากแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างนั้นมีน้อยมาก ทั้งประเทศนี้มีอยู่ราว 50 คนเท่านั้น หนึ่งในภารกิจสำคัญที่นอกจากการให้การรักษาผู้ป่วยแล้ว คือการมุ่งผลิตและพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชานี้ให้มีจำนวนมากขึ้นโดยที่ผ่านมาทางหน่วยฯ ได้ริเริ่มการเรียนผ่าตัดด้วย “อาจารย์ใหญ่ร่างนุ่ม” (Soft Cadaver) เป็นแห่งแรกของประเทศไทยและทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 8 แล้ว โดยจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ปีละครั้ง จากเดิมที่สอนเฉพาะแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ในระยะหลังก็เปิดกว้างใหบุคลากรภายนอกเข้าร่วมอบรมด้วย โดยร่วมมือกับชมรมศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้างเปิดอบรมเพิ่มทักษะ จากที่กล่าวไปแล้วว่าแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ในประเทศยังมีน้อย ทำให้ในทุก ๆปี หน่วยศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้างได้ออกหน่วยลงพื้นที่เพื่อให้บริการผ่าตัดแก่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ หรือพื้นที่ห่างไกล เช่น ศรีสะเกษ นครพนม หนองบัวลำภู ฯลฯ

โดยทางหน่วยของเรา ยินดีให้บริการดูแลดังนี้

     1. ผู้ป่วยที่มีปัญหาเปลือกตา (Eyelid problems) อาทิ เช่น

  • โรคหนังตาตก (Blepharoptosis)
  • โรคหนังตาหย่อน (Dermatochalasis)
  • โรคเปลือกตาม้วนเข้า (Entropion)
  • โรคเปลือกตาแบะออก (Ectropion)
  • ปัญหาก้อนที่บริเวณเปลือกตา (Eyelid mass)
  • เปลือกตาฉีกขาดผิดรูป (Eyelid malposition)
  • โรคความผิดปกติของเปลือกตาอื่นๆ เช่น เปลือกตาอักเสบ

     2. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินน้ำตา (Lacrimal passage problem) อาทิ เช่น

  • ท่อน้ำตาอักเสบ
  • ท่อน้ำตาฉีกขาด
  • ท่อน้ำตาอุดตัน
  • ต่อมน้ำตาอักเสบ
  • ก้อนที่บริเวณต่อมน้ำตา          

     3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาเบ้าตา อาทิ เช่น

  • ตาโปน เช่น โรคไทรอยด์ทางตา
  • ตาโปนจากการมีก้อนในบริเวณเบ้าตา
  • กระดูกเบ้าตาหักหรือแตก

     4. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับตาปลอม อาทิ เช่น

  • ผู้ป่วยที่อาจเคยประสบอุบัติเหตุและจำเป็นต้องได้รับตาปลอม

ในคลินิกประกอบด้วยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาตกแต่งและเสริมสร้างคอยให้การดูแลรักษาได้แก่

รศ.นพ. ศุภพงศ์ ถิระคุณวิชชะ  หัวหน้าหน่วยจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
อ.พญ. เปรมจิต เศาณานนท์  อาจารย์ประจำหน่วย
อ.พญ. วรรณกรณ์ พฤกษากร  อาจารย์ประจำหน่วย
อ.พญ. อุไรวัลย์ ตินนังวัฒนะ  อาจารย์ผู้ช่วยให้คำปรึกษา

            นอกจากยังมีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยตา  ตลอดจนแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ช่วยให้การดูแลทุกท่านเพื่อให้ผู้ป่วยของเราได้รับการดูแลตามมาตรฐานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากที่สุด

            คลินิกจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง  ให้บริการที่บริเวณ อาคาร สธ. ชั้น 8

            ทุกวันจันทร์เวลา 13.00-16.00 น.

            คลินิกตาปลอม  ให้บริการที่บริเวณ อาคาร สธ. ชั้น 8

            ทุกวันพุธเวลา 9.00-16.00 น.

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ 02-256-4000 ต่อ 80902 ได้ทุกวันในเวลาราชการ