Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน่วยต้อหิน

“เทคโนโลยีอะไรที่เห็นว่าจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้ เราไม่รีรอที่จะคว้าเข้ามา”

    โรคต้อหินถือเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ จึงมีผู้ป่วยจำนวนมากที่รู้ตัวช้า ทางหน่วยฯ จึงพยายามที่จะรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคดังกล่าวที่จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ จึงได้มุ่งมั่นสรรหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อการวินิจฉัยอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ Optical Coherence Tomography เพื่อช่วยวิเคราะห์ขั้วประสาทตา เส้นใยประสาทตาและความหนาแน่นของเส้นเลือดบริเวณนั้น และอุปกรณ์ Anterior Segment Optical Coherence Tomography เพื่อช่วยวิเคราะห์บริเวณลูกตาส่วนหน้าที่เกี่ยวกับต้อหิน 

     ล่าสุดได้จัดหาเครื่องมือวัดลานสายตาเข้ามาเพิ่มเพื่อตอบสนองกับปริมาณผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรอคิวนาน สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีการรักษา ปัจจุบันได้มีความร่วมมือด้านการวิจัยกับประเทศสิงคโปร์เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบายความดันลูกตาที่มีขนาดเล็กลง เพื่อหวังผลในการผ่าตัดที่ดียิ่งขึ้น และยังได้ทำวิจัยเรื่องการถ่ายภาพชั้นประสาทตาและแปลผลด้วยคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ ซึ่งหากการวิจัยนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะช่วยแพทย์ให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นและด้วยราคาที่ถูกลง