Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn Eye Center

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการการเปลี่ยนกระจกตาและการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคกระจกตา

“โลกทำอะไรได้ เราก็ทำได้ทั้งหมด ไม่ต้องไปรักษาที่ต่างประเทศ”

            นับตั้งแต่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการปลูกถ่ายกระจกตาและการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคกระจกตา หรือชื่อเดิมคือ หน่วยกระจกตา สามารถผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้กับผู้ป่วยสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2502 ผ่านมาเกือบ 60 ปี เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาก็พัฒนาก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ จนปัจจุบันสามารถเลือกเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะชั้นที่มีปัญหาโดยยังเก็บชั้นที่ดีเอาไว้ได้ ซึ่งข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะส่วนที่จำเป็นจริง ๆ ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงมาก การมองเห็นของผู้ป่วยจะดีขึ้นเร็วมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้การใช้งานกระจกตาที่ได้รับบริจาคมาเกิดประโยชน์มากขึ้น เพราะกระจกตา 1 ดวงสามารถนำไปแยกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากกว่า 1 คน ทำให้กระจกตาที่หายากอยู่แล้วยิ่งมีคุณค่ามากขึ้น

            อีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าภาคภูมิใจคือ เรื่องสเต็มเซลล์ ซึ่งศูนย์ฯ แห่งนี้สามารถเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ได้เป็นแห่งแรกของประเทศ โดยทำได้ทั้งวิธีการนำสเต็มเซลล์ในตาอีกข้างที่ยังดีอยู่ของผู้ป่วยเองออกมาเพาะ หรือเพาะจากดวงตาที่ได้รับบริจาคมา จนถึงการนำเซลล์บุผิวในช่องปากผู้ป่วยเองมาเพาะปลูกถ่ายรักษาโรคให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวกระจกตาจากภาวะขาดสเต็มเซลล์ได้อีกด้วย ซึ่ง 3 วิธีดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด นำโดย ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา

            นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังไม่ได้วางแผนที่จะติดตามผลงานผ่านทางระบบอิเล็กทรอกนิกส์สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเดินทางมาที่โรงพยาบาล โดยจะร่วมมือกับโรงพายบาลทุกจังหวัดเพื่อให้คำปรึกษาผ่านทางออนไลน์ และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดผ่านทางการประชุมทางไกล (Teleconference)