ศูนย์ความเป็นเลิศฯด้านกระจกตาและผิวดวงตา ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้จัดทำโครงการวิจัยเรื่องการศึกษาหาความชุกของโรคกระจกตาเสื่อมแบบฟุก (FECD) ในชุมชนภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคสำคัญที่นำไปสู่การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา โครงการวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลพนัสนิคมและชุมชนคลองเตย โดยศึกษากลุ่มประชากรไทยตัวอย่างอายุ 40 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ชุมชนตัวอย่าง 2 ชุมชนนี้ จำนวนรวม 990 ราย ได้แก่ ชุมชนพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ศึกษาวิจัยในวันที่ 27 – 28 มกราคม 2566 จำนวน 639 ราย พบผู้ป่วยโรคกระจกตาเสื่อมแบบฟุก จำนวน 279 ราย และ ชุมชนคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ศึกษาวิจัยในวันที่ 31 มีนาคม 2566 จำนวน 351 ราย พบผู้ป่วยโรคกระจกตาเสื่อมแบบฟุก จำนวน 168 ราย
ทั้งนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศฯด้านกระจกตาและผิวดวงตาได้ส่งตัวผู้ป่วยกลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว ไปยังโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิการรักษาแล้ว เพื่อดำเนินการรักษาต่อไป การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทางศูนย์ความเป็นเลิศฯ ได้รับความร่วมมือจากทั้ง 2 ชุมชนอย่างดีเยี่ยม ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพดวงตาได้ทันท่วงที มีโอกาสในการชะลอความเสื่อมของโรคและรักษาโรคได้ตามความเหมาะสมต่อไป
The research on the prevalence of Fuchs’
Endothelial Corneal Dystrophy (FECD)
in the central region of Thailand
Excellence Center for Cornea and Limbal Stem Cell Transplantation, Department of Ophthalmology, King Chulalongkorn Memorial Hospital, conducted a population-based survey in the central region of Thailand to study the prevalence of Fuchs Endothelial Corneal Dystrophy (FECD). This research was successfully carried out in Phanat Nikhom catchment area, Chon Buri Province, and Khlong Toei catchment area, Bangkok. The study included Thai individuals aged 40 and over, totaling 990 participants. During January 27-28, 2023, the survey in the Phanat Nikhom catchment area identified 279 cases of FECD out of 639 participants. Similarly, on March 31, 2023, the survey in the Khlong Toei catchment area identified 168 FECD cases out of 351 participants.
Following disease detection, each patient was individually referred to the hospital responsible for health system coverage to ensure proper management. This research project received outstanding collaboration from healthcare workers in both areas, facilitating optimal patient access to healthcare for early detection, disease morbidity delay, and prompt management.